แนวทางการรับมือโรคระบาดในระยะต้น

โรคระบาดโคโรนาไวรัสที่เริ่มขึ้นในเมืองอู่ฮั่นทำให้ผู้ป่วยราว 20% มีอาการขั้นรุนแรง และ 2% เสียชีวิต ระยะฟักตัวโดยทั่วไปคือ 3 วัน แต่ก็อาจยาวนานได้ถึง 14 วัน และมีรายงานกรณีที่ยาวนานถึง 24 และ 27 วันด้วย โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายมาก และอาจมีอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงถึง 1.5 เท่าต่อวัน (อัตราการติดเชื้อ R0 ซึ่งหมายถึงค่าเฉลี่ยของจำนวนประชากรที่ผู้ป่วยหนึ่งรายสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้ อยู่ที่ประมาณ 3-4) เว้นแต่จะดำเนินมาตรการพิเศษ หากโรคดังกล่าวกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) หรือกลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) วิถีชีวิตของทุกคนในโลกจะเปลี่ยนไป เราจำเป็นต้องจำกัดวง หยุดยั้งการระบาด และไม่อาจปล่อยให้โรคนี้แพร่กระจายได้ แนวทางปฏิบัติเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อบุคคล ชุมชน และรัฐบาล

ดาวน์โหลดแนวทางปฏิบัติเป็น PDF

ข้อสรุปจากบทความ “ผลของมาตรการที่ไม่ใช่ยาในการลดอัตราการตายและความต้องการทรัพยาการทาง สาธารณสุขเนื่องจากโรคโควิด-19” โดย Neil Ferguson และคณะ

ชีวิตประจำวันและ COVID-19

วิธีชนะโควิด-19

แนวทางปฏิบัติหลักในการรับมือกับไวรัสโคโรนา

แนวทางปฏิบัติสำหรับครอบครัวในการสร้าง "พื้นที่ปลอดภัย"

แนวทางปฏิบัติพิเศษสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19

แนวทางรับมือโรคระบาดสำหรับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง

แนวทางปฏิบัติในการกักตัวเอง

การทดสอบขนาดใหญ่สามารถหยุดยั้งการระบาดของไวรัสโคโรน่า

แนวทางปฏิบัติสำหรับภาคธุรกิจ

แนวทางการรับมือโรคโควิด-19 สำหรับผู้กำหนดนโยบาย

แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคคล ชุมชน และภาครัฐ

สุขภาพปอดที่ดีช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรคโควิด-19 ได้ดีขึ้น

แนวทางปฏิบัติสำหรับซุปเปอร์มาร์เก็ด ร้านขายของชำ และร้านขายยา

แนวทางปฏิบัติระดับชุมชน

คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยและคำถามคัดกรองพนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่างๆ)

แนวทางปฏิบัติไวรัสโคโรนา เรื่องการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19

แนวทางปฏิบัติอื่นๆที่เป็นประโยชน์

คู่มือการป้องกันและรักษา COVID-19

การบริหารจัดการโลหิตสำหรับผู้ป่วยในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด‍

แนวทางปฏิบัติสำหรับครอบครัว

ในการพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ที่รัฐบาลไม่ได้ดำเนินมาตรการที่เพียงพอ การปกป้องครอบครัวหรือคนใกล้ชิดถือเป็นสิ่งที่ท้าทาย ไฟจะลามได้ก็ต้องอาศัยเชื้อไฟ ในทำนองเดียวกัน โรคโควิด-19 จะแพร่กระจายก็เมื่อมีบุคคลที่เสี่ยงต่อเชื้อ ทางออกคือ:

  1. ลดการติดต่อระหว่างคนในครอบครัวกับบุคคลภายนอก และจัดเตรียมของใช้ที่จำเป็น และเมื่อความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

  2. สร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อปกป้องผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยการทำข้อตกลงร่วมกันว่าจะไม่แตะต้องผู้อื่น หรือแตะต้องสิ่งที่ผู้อื่นสัมผัสโดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน

พื้นที่ปลอดภัยสามารถช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ด้วย เพราะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการแพร่เชื้อโรค สมาชิกของพื้นที่ปลอดภัยหนึ่งแห่งสามารถร่วมมือกับบุคคลภายนอกเพื่อขยายพื้นที่ปลอดภัยให้กว้างขึ้น หรือสร้างพื้นที่ปลอดภัยใหม่ ด้านล่างนี้คือแนวทางที่เราแนะนำให้แต่ละครอบครัวปฏิบัติ

 
 

ลดการพบปะติดต่อระหว่างคนในครอบครัวกับบุคคลภายนอก:

  • อ่านแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคคลอย่างละเอียด และอธิบายให้สมาชิกครอบครัวฟัง พูดคุยกับพวกเขาว่าจะลดการพบปะกับผู้อื่นได้อย่างไร

  • เปลี่ยนการรวมญาติใดๆ ให้เป็นการรวมญาติผ่านออนไลน์ โรคระบาดที่เราเผชิญอยู่ในขณะนี้อาจถูกหยุดยั้งไว้ได้ ไม่เช่นนั้น มันก็จะแพร่หลายไปทั่ว หากเป็นในกรณีแรก สถานการณ์จะกลับเป็นปกติในอีกไม่กี่เดือน แต่หากเป็นกรณีหลัง เราจะต้องดำเนินมาตรการที่ต่างออกไป

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณและสมาชิกในครอบครัวมีข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นรวมถึงยาประจำตัว โปรดพิจารณาโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้สูงอายุและผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ จะพบปะติดต่อกับผู้อื่น และหาทางลดการพบปะติดต่อเหล่านั้น โดยหาทางช่วยให้พวกเขาอยู่แต่ในบ้านได้ และไม่ออกไปยังพื้นที่สาธารณะ

  • พิจารณาย้ายบุคคลที่อยู่ในที่อยู่อาศัยรวม (ชุมชนผู้เกษียณอายุ สถานพยาบาล สถานพักฟื้น ฯลฯ ) ไปยังที่พักที่เป็นสถานที่ส่วนตัวชั่วคราว เช่น บ้านพักที่แยกเป็นหลัง หรือสถานพยาบาลขนาดเล็ก

  • ในกรณีที่ไม่สามารถลดการพบปะติดต่อได้ โปรดพูดคุยกับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่เชื้อ

  • หลีกเลี่ยงที่ชุมนุมชนและสถานที่สาธารณะ รวมถึงงานกิจกรรมต่างๆ และร้านอาหาร โดยเฉพาะกิจกรรมในพื้นที่ปิด

การสร้างพื้นที่ปลอดภัยภายใต้สภาวะที่มีความเสี่ยงสูง:

  • วัตถุประสงค์หลักของพื้นที่ปลอดภัยคือเพื่อให้คนจำนวนหนึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ลดโอกาสการสัมผัสแตะต้องบุคคลนอกกลุ่มให้น้อยที่สุด แต่ยังสามารถดูแลตัวเองและช่วยเหลือตนเองได้

  • ประชาชนทั่วไปไม่จำเป็นต้องรอให้รัฐบาลออกคำสั่งหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยก่อน ในกรณีที่ไม่มีมาตรการเชิงรุกที่เป็นระบบ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยเองในระดับประชาชนจะเป็นประโยคต่อทุกคน การค่อยๆ ขยายวงพื้นที่ปลอดภัยออกไปสามารถชะลอหรือหยุดการระบาดของโรคในพื้นที่ได้

  • พื้นที่ปลอดภัยอาจเริ่มต้นจากคนในครอบครัวหรือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในที่แห่งเดียวกัน เราสามารถรวมที่พักอาศัยหลายแห่งเข้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยเดียวกัน และขยายให้ครอบคลุมการเดินทางระหว่างกัน (เช่น การเดินหรือขับรถ) ได้ หากมีการกำหนดและปฏิบัติตามแนวทางความปลอดภัย พื้นที่ปลอดภัยจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกคนยอมรับหลักการของการลดการสัมผัสแตะต้องกับสิ่งที่อยู่ภายนอกพื้นที่และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทางกลุ่มต้องเขียนคำแนะนำด้านการปฏิบัติตัวและให้ร่วมมือไว้อย่างชัดเจน สมาชิกของพื้นที่ปลอดภัยเดียวกันต้องเปิดเผยประวัติการเดินทางและสภาวะสุขภาพทั้งหมด และช่วยดูแลสุขภาพของกันและกัน

  • เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนร่วมมือได้เต็มที่ อาจต้องวางแผนร่วมกับที่ทำงาน โรงเรียน ครอบครัวและเพื่อนฝูง คุณอาจต้องขออนุญาตนายจ้างเพื่อทำงานอยู่ที่บ้านหรือลางาน

  • ควรเตรียมการเพื่ออยู่ในพื้นที่ปลอดภัยเป็นเวลานาน (อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ขึ้นไป) ไว้ล่วงหน้า รวมถึงการจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ แต่โปรดระมัดระวังตัวอย่างยิ่งยวดเมื่อออกไปซื้อหาข้าวของดังกล่าว เพราะอาจต้องสัมผัสกับฝูงชน กลยุทธ์เน้นการอยู่รอดอาจมีประโยชน์ในบริบทนี้ การวางแผนล่วงหน้าเพื่อเตรียมของใช้ที่จำเป็นถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการเดินทางแต่ละครั้งเพื่อให้ได้มาล้วนมีความเสี่ยง

  • หากเป็นไปได้ โปรดใช้บริการสั่งของรวมถึงอาหารมาส่งที่บ้าน เพื่อลดการเดินทางไปยังร้านค้าให้น้อยที่สุด แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากสินค้าที่มาส่งย่อมต้องผ่านมือผู้อื่น หากอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ ควรล้างหรือฆ่าเชื้อสินค้าที่มาส่ง เว้นแต่จะมีข้อตกลงกับผู้ให้บริการว่าพนักงานจะใช้ถุงมือ 

  • สำหรับกิจกรรมที่จำเป็น รวมถึงการออกไปซื้อสินค้า ซึ่งต้องมีการพบปะติดต่อกับบุคคลภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สมาชิกควรวางแผนล่วงหน้าเพื่อดำเนินกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และลดระยะเวลา รวมถึงความใกล้ชิดของการพบปะติดต่อ โปรดใช้ความระมัดระวังเมื่อจะออกจากสถานที่และกลับเข้าไปยังพื้นที่ปลอดภัย โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม เช่น เตรียมถุงมือหรือวัสดุที่ใช้แล้วทิ้ง (เช่น กระดาษทิชชู่) เพื่อจับต้องหรือหยิบสิ่งของที่ไม่ควรสัมผัส เตรียมเจลทำความสะอาดหรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และเตรียมหน้ากาก นอกจากนี้ ควรล้างหรือฆ่าเชื้อโรคก่อน (แนะนำ) หรือเมื่อกลับเข้ามาถึงพื้นที่ปลอดภัย

  • ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างกันและการดูแลซึ่งกันและกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและสุขภาพจิตของสมาชิก ความตระหนักรู้ว่าเหตุในปัจจุบันนั้นฉุกเฉินยิ่ง จึงต้องมีมาตรการพิเศษ และต้องมีการเสียสละมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่แม้การตระหนักเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ได้บ้าง ก็ยังไม่สามารถแทนที่การเป็นกำลังใจให้กันและกันได้

  • สมาชิกในพื้นที่ปลอดภัยควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในกรณีที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่ามีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ วิธีปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปตามประเทศ / รัฐ / สถานที่ และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สมาชิกทุกคนในกลุ่มควรทราบถึงแผนฉุกเฉินล่าสุดและวิธีติดต่อ ในกรณีที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งแสดงอาการซึ่งสัมพันธ์กับโรค สมาชิกที่เหลือควรเร่งหาทางพาเขา/เธอไปรับการตรวจ และแยกบุคคลดังกล่าวออกไประหว่างรอผลตรวจ

เมื่อมีโรคระบาดลุกลามออกไป สมาชิกย่อมต้องเผชิญกับการตัดสินใจอันยากลำบากว่าจะออกจากพื้นที่ปลอดภัยไปช่วยครอบครัวหรือเพื่อนฝูงที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยหรือไม่ ทุกคนควรเตรียมรับสถานการณ์เช่นนี้เสียแต่เนิ่นๆ

ในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูง ย่อมมีการกระทำโดยไม่ตั้งใจซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกริยาตอบสนองต่อเหตุการณ์เดี่ยวๆ ที่รุนแรงเกินความจำเป็น โปรดตระหนักว่าความพลั้งพลาดเพียงครั้งเดียวมีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายต่ำ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความพลั้งพลาดหลายหนรวมกัน ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก การดูแลให้แน่ใจว่าสมาชิกได้เรียนรู้จากความผิดพลาดแล้วมีความสำคัญมากกว่าการกล่าวหา กล่าวโทษ หรือลงโทษกัน

แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคคลและชุมชน

  • รับผิดชอบต่อสุขภาพของคุณเองและร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้คนในละแวกบ้านคุณด้วยความตระหนักรู้และมีระเบียบวินัย 

  • รักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing หรือการลดการพบปะกับผู้คน)

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแตะต้องพื้นผิวต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ส่วนรวม

  • หลีกเลี่ยงการชุมนุม  

  • หลีกเลี่ยงการพบปะติดต่อผู้อื่น ล้างมือเป็นประจำ และสวมหน้ากากเมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้ที่อาจติดเชื้อ

  • ป้องปากเมื่อไอ / จาม

  • วัดอุณหภูมิหรือคอยสังเกตอาการเริ่มแรกอื่น ๆ ของการติดเชื้อ (ไอ จาม น้ำมูกไหล เจ็บคอ)

  • แยกตัวเองออกจากผู้อื่นทันทีที่เริ่มมีอาการ

  • หากอาการรุนแรงขึ้น โปรดหาวิธีที่ปลอดภัยในการเดินทางไปยังสถานพยาบาลตามคำแนะนำของรัฐบาล หลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โปรดสวมหน้ากากอนามัย

  • ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ควรจัดหาข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นให้สมาชิกในชุมชนของคุณด้วยวิธีที่ไม่จำเป็นต้องมีการพบปะติดต่อ เช่น ให้คนส่งของวางไว้ที่หน้าประตู

  • ร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย / ชุมชนปลอดภัย พูดคุยเรื่องความปลอดภัยกับครอบครัวและเพื่อนฝูง พูดคุยเรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ติดตามว่าใครปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยแล้วบ้าง กำหนดนโยบายที่ใช้ร่วมกัน 

  • ติดตามและพูดคุยกันถึงความจำเป็น ความกังวล และโอกาสต่าง ๆ ที่คนในกลุ่มพบ

  • วิเคราะห์ข่าวลือต่างๆ ให้ดี และอย่าเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด 

แนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชนและรัฐบาล

  • เมื่ออยู่ใกล้ชุมชนหรือประเทศที่มีการแพร่กระจายของเชื้อ โปรดตั้งจุดคัดกรองอาการที่พรมแดน

  • บังคับใช้มาตรการกักตัว 14 วันสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงก่อนอนุญาตให้เข้ามาในเขตปลอดการติดเชื้อ 

  • ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ควรประสานงานกับผู้คนในละแวกบ้านเพื่อจัดทีมคัดกรองอาการแบบถึงบ้าน โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด (IR) และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE เช่น ถุงมือ เสื้อคลุม แว่นตา ฯลฯ) ที่เหมาะสม

  • ทีมคัดกรองอาการแบบถึงบ้านควรเก็บข้อมูลผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้วย

แนวทางปฏิบัติสำหรับรัฐบาล

  • เตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในเชิงกลยุทธ์ล่วงหน้าเช่น หน้ากาก อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ชุดทดสอบ และกำหนดเส้นทางการกระจายทรัพยากรต่าง ๆ

  • ระบุพื้นที่ที่ยืนยันแล้ว หรือสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ

  • ระงับการเดินทางที่ไม่จำเป็นระหว่างพื้นที่ที่มีการติดเชื้อและพื้นที่ปลอดการติดเชื้อ

  • แยกผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อออกมาเพื่อทำการพิสูจน์ยืนยันและดูแลต่อไปในสถานพยาบาลที่กำหนด ซึ่งมีทรัพยากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เพียงพอ

  • ผู้ที่มีอาการควรเข้าไปยังสถานพยาบาลที่กำหนดผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ โดยหลีกเลี่ยงระบบขนส่งสาธารณะหรือรถแท็กซี่

  • สั่งให้มีการกักกันและตรวจหาเชื้อไวรัสในบุคคลที่สงสัยทั้งหมดซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ยืนยันว่ามีการติดเชื้อ

  • เผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ให้สาธารณชนตระหนักรู้:

  • อาการที่พบบ่อยและช่องทางการแพร่กระจายเชื้อที่เป็นไปได้

  • เน้นย้ำว่าโรคดังกล่าวมีอัตราการแพร่ระบาดที่สูงมาก แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ารับการรักษาพยาบาล 

  • รณรงค์เรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคลให้มากขึ้น รวมทั้งการล้างมือให้บ่อยขึ้น สวมหน้ากากในที่สาธารณะ และหลีกเลี่ยงการพบปะติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ

  • ยกเลิกการชุมนุม การประชุม กิจกรรมกลุ่มต่างๆ 

  • ใส่ใจกับการป้องกันการเข้า/ออก หรือการตรวจสอบสุขภาพของผู้คนที่เข้า/ออกจากสถานที่ปิดที่มีผู้คนอยู่กันอย่างหนาแน่น เช่น เรือนจำ สถานพยาบาล สถานพักฟื้น และสถานบริบาลผู้ป่วย บ้านพักคนชรา ชุมชนผูัเกษียณอายุ หอพักนักศึกษา และโฮสเทล 

  • รณรงค์ให้ชุมชนในเขตติดเชื้อเข้ามามีส่วนรับผิดชอบ

  • ให้แต่ละชุมชน / ละแวกบ้าน ระบุชื่อกลุ่มคนที่ทำงานซึ่งต้องมีการพบปะติดต่อกับผู้คนเป็นประจำ ติดตามอาการของพวกเขาทุกวันเพื่อดักจับการติดเชื้อและป้องกันการระบาด

  • มีส่วนร่วมในการสื่อสารและการกระจายทรัพยากรไปยังพื้นที่ห่างไกล

  • ประสานงานกับนานาชาติและองค์กรอนามัยโลก เพื่อส่งต่อข้อมูลเรื่องผู้ป่วยรายใหม่ ประวัติการเดินทาง การรักษา กลยุทธ์ในการป้องกันโรค และระดับความขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์

  • วางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคลึงกันแต่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19

  • ในเขตที่มีการติดเชื้อแล้ว

  • ปิดสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา มหาวิทยาลัย โรงเรียนและ บริษัทต่างๆ

  • กักผู้คนให้อยู่แต่ในที่พักอาศัย และส่งข้าวของจำเป็นให้โดยไม่ต้องมีการพบปะติดต่อ

  • ดำเนินมาตรการค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการระยะต้นและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือถึงที่บ้าน โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

แนวทางปฏิบัติสำหรับบริษัทต่างๆ

ด้านล่างนี้คือสิ่งต่าง ๆ ที่บริษัทห้างร้านสามารถดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา เราได้กล่าวถึงข้อควรพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจการบริการไว้ด้วย

หมายเหตุ: หอการค้าฝรั่งเศสระหว่างประเทศก็ใช้แนวทางเหล่านี้

 
 

ทั่วไป

  • ส่งเสริมความเข้าใจในหมู่พนักงานและครอบครัว ว่าด้วยการแพร่กระจายและวิธีป้องกันไวรัสโคโรนา 

  • พัฒนานโยบายที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กรเพื่อลดการแพร่เชื้อและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

  • กำชับกับพนักงานว่าพวกเขาไม่ควรมาทำงานหรือเข้าประชุมใดๆ แม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม และพวกเขาจะไม่ถูกลงโทษใดๆ หากลาป่วย วางระบบรายงานข้อมูลไว้เผื่อสถานการณ์เหล่านี้

  • ดูแลให้แน่ใจว่าพนักงานมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อให้พนักงานกล้าไปพบแพทย์เมื่อมีอาการใด ๆ แม้จะไม่รุนแรงก็ตาม

  • ร่วมมือกับสถานพยาบาลในท้องถิ่น เพื่อประสานให้มีการตรวจหาไวรัสโคโรนาในพนักงานที่รวดเร็ว

  • เตรียมข้าวของจำเป็น (ผลิตภัณฑ์ทำสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์, แอลกอฮอล์, หน้ากาก, เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากแบบอินฟราเรดซึ่งไม่ต้องสัมผัสตัว) ให้พร้อม ในกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายลงและพนักงานไม่สามารถเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นได้

  • การอุดจุดอ่อนขององค์กรจะช่วยลดความเสี่ยง

การประชุม การเดินทาง และบุคคลภายนอก  

  • เปลี่ยนจากการประชุมแบบตัวต่อตัวเป็นการประชุมเสมือนจริง (virtual)

  • จัดให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหากเป็นไปได้

  • จำกัดการเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ความเสี่ยงสูง (แดง ส้ม และแม้กระทั่งเหลือง)

  • ยกเลิกการเดินทางที่ไม่จำเป็น

  • เปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ เพื่อทำให้การเดินทางที่เหมือนจะจำเป็นกลายเป็นสิ่งไม่จำเป็น

  • จำกัดจำนวนบุคคลภายนอกที่เข้ามาในบริษัท และออกนโยบายให้มีการสอบถามและคัดแยกผู้มาเยือนตามสถานะของเขตที่พวกเขาพักอาศัยและนโยบายการป้องกันไวรัสโคโรนาของบริษัท ตรวจอาการของบุคคลภายนอกก่อนให้เข้าบริษัท

สถานที่ทำงาน

  • สนับสนุนการปรับชั่วโมงการทำงานให้ยืดหยุ่น เลื่อนชั่วโมงและเวลาเข้างานให้เหลื่อมกันเพื่อลดความหนาแน่นในที่ทำงาน ควรลดความหนาแน่นให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 50 ของสถานที่ตลอดเวลา 

  • นายจ้างควรสั่งให้พนักงานที่กลับจากสถานที่ซึ่งพบการติดเชื้อ หรือได้สัมผัสติดต่อกับสิ่งที่ต้องสงสัยระหว่างการเดินทาง กักตัวเองเป็นเวลา 14 วันก่อนเข้าสำนักงาน นายจ้างควรติดตามสถานะสุขภาพของคนเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการรายงาน และไปพบแพทย์

  • ควรมีเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากด้วยอินฟราเรดประจำอยู่ที่ทางเข้าต่าง ๆ 

  • วัดอุณหภูมิร่างกายของพนักงานทุกวัน และจัดเตรียมหน้ากากให้พนักงานที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการทำงานใกล้ชิดกับบุคคลอื่น [1]

  • เปลี่ยนเส้นทางการเข้าออกอาคารเพื่อส่งเสริมการล้างมือที่ทางเข้า และวางเจลทำความสะอาดมือไว้ที่ทางเข้าสำนักงาน

  • จัดตารางพนักงานใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มในลิฟต์ ไม่ควรใช้พื้นที่บรรทุกในลิฟต์เกินกว่าครึ่งหนึ่ง

  • ดูแลให้แน่ใจว่าพื้นที่ทำงานของพนักงานแต่ละคนห่างจากกันอย่างน้อย 1 เมตร และพื้นที่ทำงานของพนักงานแต่ละคนควรกว้างอย่างน้อย 2.5 ตารางเมตร ในกรณีของสำนักงานที่มีพนักงานจำนวนมาก ควรเพิ่มความเคร่งครัดขึ้นไปอีก

  • ฆ่าเชื้อพื้นที่ส่วนกลาง บริเวณที่มีคนเข้าออกมาก พื้นผิวที่ต้องสัมผัสบ่อย หากต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ควรปิดฟังก์ชั่นหมุนเวียนอากาศภายใน ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อ / เปลี่ยนส่วนประกอบหลักๆ และไส้กรองสำคัญทุกสัปดาห์

  • นั่งรับประทานอาหารให้ห่างกันเป็นระยะทาง 1 เมตร และหลีกเลี่ยงการนั่งหันหน้าเข้าหากัน อย่าใช้จานชามช้อนส้อมด้วยกันและฆ่าเชื้อให้บ่อย ๆ พนักงานในโรงอาหารต้องได้รับการตรวจสุขภาพบ่อยๆ

  • สนับสนุนการสั่งอาหารมาส่ง แทนที่จะออกไปรับประทานอาหารภายนอก จัดให้มีบริการโทรสั่งอาหารและจุดรับส่งอาหารซึ่งไม่ต้องพบปะติดต่อกันและไม่มีคิว

  • ทบทวนวิธีเดินทางมายังสถานที่ทำงานของพนักงาน และให้คำแนะนำต่าง ๆ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงระบบสาธารณะ หรือรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสแตะต้องพื้นผิวต่าง ๆ ล้างมือให้สะอาด และสวมหน้ากากในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง

  • ควรกำหนดผู้มีหน้าที่บังคับใช้นโยบายต่อต้านไวรัสโคโรนาให้ชัดเจนและตรวจสอบได้

ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริการ

  • อุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยการพบปะติดต่อสูงอาจถูกรบกวนอย่างรุนแรง การดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นอาจช่วยลดความเสี่ยงได้บ้าง แต่ไม่อาจขจัดความเสี่ยงได้ทั้งหมด เว้นแต่จะดำเนินพร้อมกันทั้งสังคม 

  • การห้ามไม่ให้ผู้ที่มีอาการหวัด แม้จะเล็กน้อยก็ตาม เข้าไปพบปะติดต่อกับผู้อื่น คือสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

  • บันทึกการพบปะติดต่อในแต่ละวันของพนักงานทุกคนให้ละเอียด เพื่อที่ว่าหากมีการติดเชื้อขึ้นมา บริษัทจะได้สามารถแจ้งเตือนทุกคนที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดกับพนักงานและลูกค้า

  • พัฒนาและบังคับใช้วิธีบริการลูกค้าโดยไม่ต้องมีการพบปะติดต่อกันโดยตรง เช่น

  • ให้บริการรับส่งสินค้าที่หน้าร้าน / หน้าต่าง และกำหนดให้ผู้คนที่เข้าคิวยืนห่างกันในระยะที่เพียงพอ

  • ให้บริการลูกค้าโดยไม่ต้องลงจากรถ

  • บริการส่งสินค้าถึงบ้านโดยไม่ต้องมีการพบปะติดต่อ

1. ประเด็นเรื่องการสวมหน้ากากนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เราทราบว่า: (1) บุคคลที่มีอาการใดๆ แม้จะไม่รุนแรงก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการพบปะติดต่อกับผู้อื่นและควรสวมหน้ากากเมื่อจำเป็นต้องพบปะผู้อื่น ไม่ว่าจะในที่สาธารณะหรือที่ส่วนตัวก็ตาม (2) การสวมหน้ากากในที่สาธารณะควรเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยรู้สึกลังเลหรือกลัวว่าจะถูกรังเกียจหากสวมหน้ากาก (3) แม้การสวมหน้ากากจะไม่สามารถรับประกันได้ว่าบุคคลที่มีสุขภาพดีจะไม่ติดโรค และหน้ากากอาจมีจำนวนจำกัด เนื่องจากต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์ก่อน การสวมหน้ากากเมื่อไม่อาจหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ที่อาจติดเชื้อก็สามารถลดอัตราการติดเชื้อลงได้อย่างมาก (4) ในกรณีของผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีปัญหาด้านสุขภาพอยู่ก่อน รวมถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง การใส่หน้ากากถือว่าสมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่อาจเกิดขึ้นหากติดเชื้อขึ้นมา